วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) 

 ป็นโครงงานทีใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น

ตัวอย่าง โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

1. โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก ผู้พัฒนา นางสาว อัญชลี เตมีประเสริฐกิจ           
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ชนารัตน์ คำอ่อน     สถานศึกษา โรงเรียนระยองวิทยาคม



2.โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ ผู้พัฒนา เด็กหญิงวริศรา  พรหมมณี และเด็กหญิงกมลวรรณ  ทองงาน   อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ทัศนีย์  ระลึกมูล         สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก




วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

คือ การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่  ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี5ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต

2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน
4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

New technology

Oculus Rift


Virtual Reality gaming is here in the form of Oculus Rift. This history-defining 3D headset lets you mentally feel that you are actually inside a video game. In the Rift’s virtual world, you could turn your head around with ultra-low latency to view the world in high resolution display.There are premium products in the market that can do the same, but Rift wants you to enjoy the experience at only $300, and the package even comes as a development kit. This is the beginning of the revolution for next-generation gaming.The timing is perfect as the world is currently bombarded with the virtual reality topic that could also be attributed to Sword Art Online, the anime series featuring the characters playing games in an entirely virtual world. While we’re getting there, it could take a few more years to reach that level of realism. Oculus Rift is our first step.
oculus rift

Application เพื่อการศึกษา

TED ME
แอปฝึกภาษาระดับก้าวหน้ากับนักพูดมืออาชีพบนเวที TED มาฟังผู้ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆ นับพันๆ คน พูดบนเวที TED ที่ถ่ายทอดผ่านวีดิโอ มีซับไตเติลทั้งภาษาอังกฤษและอีกหลายๆ ภาษาให้เลือกดู โดยเฉพาะภาษาไทยก็มีกับเขาด้วยค่ะ สามารถเลือกซับภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือให้แสดงพร้อมกันทั้งสองภาษาเลยก็ยังได้ ที่สำคัญเป็นการแปลภาษาของนักแปลอาชีพ ไม่ใช่แปลผ่านคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัด ซึ่งก็ทำให้เราสามารถศึกษาสำนวนภาษาในการแปลไปพร้อมๆ กันได้ด้วยเลยค่ะ ก่อนอื่นเข้าไปดาวน์โหลดแอป TED Me มาใช้ก่อนค่ะ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วและเปิดเข้าไปใช้ครั้งแรก จะมีคำสั่งให้ดาวน์โหลดแอปตัวช่วยอีกตัวในการเล่นวิดีโอและแสดงซับไตเติลนั้นก็คือ MePlayer ซึ่งมีลิงก์โดยตรงให้ดาวน์โหลดได้เลย เมื่อดาวน์โหลดแอป MePlayer เสร็จ ก็ให้เข้าแอป TED Me ใหม่อีกครั้ง หน้าแรกของแอปนี้จะมีรายการนักพูดในหัวข้อต่างๆ เรียงรายให้ดูตามลำดับ แต่ก่อนอื่นไปเปลี่ยนภาษาก่อนค่ะ เปลี่ยนจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่หัวมุมด้านบน คลิกที่คำว่า English> ก็จะขึ้นภาษาต่างๆ มาให้เลือกมากมาย ก็เลือกภาษาไทย เมื่อเลือกแล้วข้อความต่างๆ ในหน้าแรกนั้นก็จะถูกแปลเป็นภาษาไทยหมดเลยค่ะ เหตุที่ต้องเลือกภาษาก่อนก็เพื่อจะให้แอปนี้แสดงซับได้ทั้งสองภาษา แต่ถ้าไม่เลือกภาษาไทย ก็จะแสดงแค่ซับภาษาอังกฤษภาษาเดียว แต่ถ้าใครมีพื้นฐานพอสมควรแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยก็ได้ค่ะ ยิ่งดีเลย ทีนี้ก็มาเลือกนักพูดที่เราสนใจอยากจะฟังเขาพูด โดยการคลิกไปที่เรื่องที่ต้องการฟัง เพื่อเข้าไปสู่หน้ารายละเอียดของเรื่องที่จะฟังและประวัติโดยย่อของผู้พูดนั้นๆ และเมื่อคลิกที่วิดีโอก็จะนำเข้าสู่เครื่องเล่น MePlayer ซึ่งจะโหลดทั้งวิดีโอและซับไปพร้อมๆ กันเลย ที่ด้านล่างก็จะมีไอคอนลูกเล่นต่างๆ เช่น หลายคนที่ฟังไม่ทัน ต้องการฟังทวนซ้ำแบบช้าๆ โดยเสียงอ่าน Text to Speech จากในเครื่อง หรือให้หยุดบ้างเพื่อจะได้มีเวลาอ่านซับก็คลิกที่ไอคอนแรก (เข้าไปตั้งรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เมนูด้านล่าง - Shadowing Setting) ถ้าต้องการการเล่นซับในแบบต่างๆ ก็คลิกไอคอนที่สอง คลิกแต่ละครั้งก็จะเปลี่ยนไประหว่าง ภาษาอังกฤษ เล่นสองภาษา หรือไม่แสดงซับ ไอคอนที่เหลือก็เป็นการเล่นซ้ำในแบบต่างๆ การหมุนหน้าจอ ต้องทดลองใช้กันดูเอาเองนะค่ะ และถ้าฟังไม่ทันก็สามารถหยุดวีดีโอ แล้วเลื่อนข้อความด้านล่างดูได้ หรือถ้าคลิกที่ข้อความช่วงไหน วิดีโอก็จะเล่นช่วงนั้นทันที นอกจากนั้นยังสามารถที่จะตั้งรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมโดยคลิกที่เมนูด้านล่างให้เข้าไปเซ็ตคำสั่งต่างๆ รวมทั้งมีดิกชั่นนารี่ให้เลือกใช้ค้นหาศัพท์ และเล่นเกมภาษา (Study Mode) อีกด้วยล่ะค่ะ เวทีนักพูดของ TED นอกจากจะเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขวาง ยังเป็นการฝึกภาษาอังกฤษที่ดีอีกด้วย แอป TED Me ถือว่าออกแบบมายอดเยี่ยมจริงๆ สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกภาษาในระดับกลางถึงระดับก้าวหน้า ลองโหลดมาใช้และตัดสินเอาเองนะคะว่าดีหรือไม่